วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554
งานนิทรรศการแสดงผลงานนักเรียน(วันแห่งความสำเร็จ)
คุณครูโรงเรียนไหนเนี่ย....น่ารักคิงคิง....
งานจัดนิทรรศการวันแห่งความสำเร็จของช่วงชั้นที่ 2
แอ๊บบบบบแบ้วววววววววว
ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของนักเรียนทุกคนค่ะ
ขอเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกด้วยคนนะค่ะ
การแสดงรำแกลมอของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3
ไชโย......ผมจบแล้ววววค๊าบ
การแสดงของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2
ภาพกิจกรรมกับความประทับใจ
ภาพกิจกรรมที่ประทับใจ
เชียร์ลีดเดอร์คนเก่ง ประจำปี 2554
ประดู่เกมส์ ประจำปี 2554
เตรียมการแสดงวันเด็กแห่งชาติ 2554 ยิ้มหน่อย ๆ
เอ้า...ขึ้นเวทีแล้ว...โยกซ้าย...โยกขวา
เข้าร่วมประกวดแข่งขันแดนซ์เซอร์ ที่เพชรเกษมพลาซ่า
กิจกรรมยุวกาชาด.......ทำอารายกานค่ะ
แบบนี้ก็มีด้วย...เอ้าท่าประจำกลุ่ม..พร้อม..สาม...สี่
ขอดูความสามัคคีของกลุ่มหน่อยนะคะ
กลุ่มนี้ทำอะไรกินดีน๊า...ขอชิมหน่อยค่ะ
เอ้า..ระเบียบแถว....จัดให้ตรง...
เอ้า...เร็ว...ช่วยกันหน่อยค๊า....
พิธีปิดกองยุวกาชาด
ใครเนี่ย...หน้าตาคุ้น...คุ้น....
ชุดนันทนาการ ค่ายลูกเสือหนองพญา
เก็บตก....มาฝาก....
รับมอบเกียรติบัตร จากท่านรองเสอดพัฒน์ พัฒนมณี
วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
ความหมาย
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นการจัดการเรียนการสอนไม่ใช่วิธีการสอน การเรียนแบบร่วมมือเป็นวิธีการที่เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กแต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถต่างกัน แต่ละคนจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแท้จริงและในความสำเร็จของกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการแบ่งปันทรัพยากรการเรียนรู้ เป็นกำลังใจแก่กันและกัน สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองเท่านั้น แต่จะต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม ความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม
วัตถุประสงค์
1. เป็นวิธีการที่พัฒนาผู้เรียนในด้านวิชาการและทักษะทางสังคม
2. เป็นการเตรียมผู้เรียนให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
องค์ประกอบสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. การมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในทางบวก (Positive Interdependence)
2. การปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดระหว่างการทำงานกลุ่ม (Face to Face Promotion Interaction)
3. การตรวจสอบความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน (Individual Accountability)
4. การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interdependence and Small Group Skills)
5. กระบวนการกลุ่ม (Group Process)
นักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2544 : 106 128) กล่าวไว้ดังนี้
1. ร่วมหัวร่วมคิด (Number Heads) เป็นรูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มจำนวน 4 – 6 คน แบบคละความสามารถ
3. คิดคู่สลับคู่คิด (Think – Pair – Square) เป็นวิธีการที่ให้สมาชิกในกลุ่มมีโอกาสจับคู่ร่วมกันคิด อภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในประเด็นที่ศึกษาอย่างทั่วถึง
4. เล่าเรื่องรอบวง (Round robin) เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนเล่าประสบการณ์ความรู้ในประเด็นที่ศึกษาโดยใช้เวลาที่เท่ากัน
5. อัศวินโต๊ะกลม (Round Table) เป็นวิธีการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้สมาชิแต่ละคนหมุนเวียน หรือผลัดกันเขียนประเด็นที่ศึกษาหนึ่งคำตอบลงบนแบบบันทึกตามลำดับทีละคน
6. จุดร่วมในความต่าง (Compare and Contrast) เป็นวีการที่ใช้ฝึกทักษะการจำแนก โดยให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันศึกษาวิเคราะห์หาความเหมือนและความแตกต่างจากประเด็นที่ศึกษาอย่างน้อย 2 ประเด็น โดยบันทึกผลการวิเคราะห์ลงในแผนภูมิความสัมพันธ์ (Venn Diagram)
7. ร่วมเรียน – ร่วมรู้ (Learning Together : LT) เป็นวิธีการที่เหมาะสมกับเนื้อหากิจกรรมการเรียนที่มีลำดับขั้นตอนแน่นอน ผู้เรียนทำงานร่วมกันภายในกลุ่ม โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างเด่นชัด เพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานกลุ่ม
8. สืบค้นเป็นกลุ่ม (Group Investigation : GI) เป็นวิธีการที่เน้นการศึกษาค้นคว้า และสืบเสาะหาความรู้ในเรื่องที่สนใจร่วมกัน โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดสิ่งที่จะเรียน และร่วมกันวางแผนจัดกระบวนการเรียน
9. สืบเสาะ/ค้นหา/มาร่วมกลุ่ม (Co – op Co – op) เป็นวิธีการที่เน้นการศึกษาค้นคว้า สืบเสาะหาความรู้ โดยมีผู้เรียนควบคุมกันเองในการเลือกหน่วยการเรียนหน่วยใหญ่ และผู้เรียนต้องแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อย่อย ๆ กันเองในกลุ่ม
ข้อเสนอแนะ การนำการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมาใช้ควรดูให้เหมาะสมไม่ใช่ทำทุกชั่วโมง แล้วก็คิดว่าเป็นการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

สรุปโดย นางสาวนิตญา วิมุล นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)