วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแมคคลีแลนด์ (McClelland’s Achievement Motivation Theory)

ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแมคคลีแลนด์
 (McClelland’s Achievement Motivation Theory)
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หมายถึง แรงจูงใจที่เป็นแรงขับให้บุคคลพยายามที่จะประกอบพฤติกรรมที่จะประสบสัมฤทธิผลตามมาตรฐานความเป็นเลิศ (Standard of Excellence) ที่ตนตั้งไว้ บุคคลที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จะไม่ทำงานเพราะหวังรางวัลแต่ทำเพื่อจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแมคคลีแลนด์  (McClelland’s Achievement Motivation Theory)
ทฤษฎีนี้เน้นอธิบายการจูงใจของบุคคลที่กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการความสำเร็จมิได้หวังรางวัลตอบแทนจากการกระทำของเขา  ซึ่งความต้องการความสำเร็จนี้ในแง่ของการทำงานหมายถึงความต้องการที่จะทำงานให้ดีที่สุดและทำให้สำเร็จผลตามที่ตั้งใจไว้ เมื่อตนทำอะไรสำเร็จได้ก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้ทำงานอื่นสำเร็จต่อไป หากองค์การใดที่มีพนักงานที่แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จำนวนมากก็จะเจริญรุ่งเรืองและเติบโตเร็ว
ในช่วงปี ค.ศ. 1940s นักจิตวิทยาชื่อ David I. McClelland ได้ทำการทดลองโดยใช้แบบทดสอบการรับรู้ของบุคคล (Thematic Apperception Test) หรือเรียกย่อว่า ทีเอที (TAT) เพื่อวัดความต้องการของมนุษย์ โดยแบบทดสอ บ TAT เป็นเทคนิคการนำเสนอภาพต่าง ๆ แล้วให้บุคคลเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเห็น จากการศึกษาวิจัยของแมคคลีแลนด์ได้สรุปคุณลักษณะของคนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมีความต้องการ 3 ประการที่ได้จากแบบทดสอบTAT ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะเข้าใจถึงพฤติกรรมของบุคคลได้ดังนี้
1. ความต้องการความสำเร็จ (Need for Achievement (nAch)) เป็นความต้องการที่จะทำสิ่งต่างๆให้เต็มที่และดีที่สุดเพื่อความสำเร็จ จากการวิจัยของ McClelland  พบว่า  บุคคลที่ต้องการความสำเร็จ (nAch) สูง จะมีลักษณะชอบการแข่งขัน ชอบงานที่ท้าทาย และต้องการได้รับข้อมูลป้อนกลับเพื่อประเมินผลงานของตนเอง  มีความชำนาญในการวางแผน มีความรับผิดชอบสูง และกล้าที่จะเผชิญกับความล้มเหลว
              2. ความต้องการความผูกพัน(Need for Affiliation (nAff)) เป็นความต้องการการยอมรับจากบุคคลอื่น ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ต้องการสัมพันธภาพที่ดีต่อบุคคลอื่น บุคคลที่ต้องการความผูกพันสูงจะชอบสถานการณ์การร่วมมือมากกว่าสถานการณ์การแข่งขัน โดยจะพยายามสร้างและรักษาความสัมพันธ์
อันดีกับผู้อื่นthumb_%A1%C3%D0%B7%D8%E8%C1%201.jpg
              3. ความต้องการอำนาจ (Need for Power (nPower)) เป็นความต้องการอำนาจเพื่อมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น บุคคลที่มีความต้องการอำนาจสูง จะแสวงหาวิถีทางเพื่อทำให้ตนมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับหรือยกย่อง ต้องการความเป็นผู้นำ ต้องการทำงานให้เหนือกว่าบุคคลอื่น และจะกังวลเรื่องอำนาจมากกว่าการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
            จากการศึกษาพบว่าพนักงานที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมักต้องการจะทำงานในลักษณะ 3 ประการ ดังนี้
                    1. งานที่เปิดโอกาสให้เขารับผิดชอบเฉพาะส่วนของเขา และเขามีอิสระที่จะตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
                    2.  ต้องการงานที่มีระดับยากง่ายพอดี ไม่ง่ายหรือยากจนเกินไปกว่าความสามารถของเขา
   3.  ต้องการงานที่มีความแน่นอนและต่อเนื่องซึ่งสร้างผลงานได้และทำให้เขามีความก้าวหน้าในงานเพื่อจะพิสูจน์ตนเองถึงความสามารถของเขาได้
   นอกจากงานในลักษณะดังกล่าวแล้วแมคคลีแลนด์ได้พบว่าปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการทำงานเพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพคือสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับงานที่เขาทำด้วย

อ้างอิงข้อมูลมาจาก  http://pirun.ku.ac.th  (5 มิถุนายน 2553)

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

งานนิทรรศการแสดงผลงานนักเรียน(วันแห่งความสำเร็จ)


คุณครูโรงเรียนไหนเนี่ย....น่ารักคิงคิง....


งานจัดนิทรรศการวันแห่งความสำเร็จของช่วงชั้นที่ 2


แอ๊บบบบบแบ้วววววววววว


ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของนักเรียนทุกคนค่ะ


ขอเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกด้วยคนนะค่ะ


การแสดงรำแกลมอของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3

ไชโย......ผมจบแล้ววววค๊าบ


การแสดงของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2

ภาพกิจกรรมกับความประทับใจ

ภาพกิจกรรมที่ประทับใจ



เชียร์ลีดเดอร์คนเก่ง ประจำปี 2554


ประดู่เกมส์ ประจำปี 2554


เตรียมการแสดงวันเด็กแห่งชาติ 2554 ยิ้มหน่อย ๆ


เอ้า...ขึ้นเวทีแล้ว...โยกซ้าย...โยกขวา


เข้าร่วมประกวดแข่งขันแดนซ์เซอร์ ที่เพชรเกษมพลาซ่า


กิจกรรมยุวกาชาด.......ทำอารายกานค่ะ


แบบนี้ก็มีด้วย...เอ้าท่าประจำกลุ่ม..พร้อม..สาม...สี่


ขอดูความสามัคคีของกลุ่มหน่อยนะคะ


กลุ่มนี้ทำอะไรกินดีน๊า...ขอชิมหน่อยค่ะ



เอ้า..ระเบียบแถว....จัดให้ตรง...


เอ้า...เร็ว...ช่วยกันหน่อยค๊า....


พิธีปิดกองยุวกาชาด


ใครเนี่ย...หน้าตาคุ้น...คุ้น....


ชุดนันทนาการ ค่ายลูกเสือหนองพญา


เก็บตก....มาฝาก....


รับมอบเกียรติบัตร จากท่านรองเสอดพัฒน์  พัฒนมณี

การแสดงวันระดมทุน ล้อมรั้ว สร้างรัก สามัคคี ของช่วงชั้นที่ 3

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

                                    การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
ความหมาย
                การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
                สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นการจัดการเรียนการสอนไม่ใช่วิธีการสอน การเรียนแบบร่วมมือเป็นวิธีการที่เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กแต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถต่างกัน แต่ละคนจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแท้จริงและในความสำเร็จของกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการแบ่งปันทรัพยากรการเรียนรู้ เป็นกำลังใจแก่กันและกัน สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองเท่านั้น แต่จะต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม ความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม
วัตถุประสงค์
                1. เป็นวิธีการที่พัฒนาผู้เรียนในด้านวิชาการและทักษะทางสังคม
                2. เป็นการเตรียมผู้เรียนให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
องค์ประกอบสำคัญ
        การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. การมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในทางบวก (Positive Interdependence)
2. การปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดระหว่างการทำงานกลุ่ม (Face to Face Promotion Interaction)
3. การตรวจสอบความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน (Individual Accountability)
4. การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interdependence and Small Group Skills)
5. กระบวนการกลุ่ม (Group Process)
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
                นักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2544  :  106  128) กล่าวไว้ดังนี้
                1. ร่วมหัวร่วมคิด (Number Heads) เป็นรูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มจำนวน 4 – 6 คน แบบคละความสามารถ
                2. คู่คิดคู่สร้าง (Think – Pair – Share) เป็นรูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม โดยเริ่มจากการจับคู่กันคิด แล้วนำความคิดของทั้งคู่มาอภิปรายในกลุ่มเพื่อให้ได้ความคิดของกลุ่ม
                3. คิดคู่สลับคู่คิด (Think – Pair – Square) เป็นวิธีการที่ให้สมาชิกในกลุ่มมีโอกาสจับคู่ร่วมกันคิด อภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในประเด็นที่ศึกษาอย่างทั่วถึง
                4. เล่าเรื่องรอบวง (Round robin) เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนเล่าประสบการณ์ความรู้ในประเด็นที่ศึกษาโดยใช้เวลาที่เท่ากัน
                5. อัศวินโต๊ะกลม (Round Table) เป็นวิธีการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้สมาชิแต่ละคนหมุนเวียน หรือผลัดกันเขียนประเด็นที่ศึกษาหนึ่งคำตอบลงบนแบบบันทึกตามลำดับทีละคน              
                6. จุดร่วมในความต่าง (Compare and Contrast) เป็นวีการที่ใช้ฝึกทักษะการจำแนก โดยให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันศึกษาวิเคราะห์หาความเหมือนและความแตกต่างจากประเด็นที่ศึกษาอย่างน้อย 2 ประเด็น โดยบันทึกผลการวิเคราะห์ลงในแผนภูมิความสัมพันธ์ (Venn Diagram)
                7. ร่วมเรียน ร่วมรู้ (Learning Together  :  LT) เป็นวิธีการที่เหมาะสมกับเนื้อหากิจกรรมการเรียนที่มีลำดับขั้นตอนแน่นอน ผู้เรียนทำงานร่วมกันภายในกลุ่ม โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างเด่นชัด เพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานกลุ่ม
                8. สืบค้นเป็นกลุ่ม (Group Investigation  :  GI) เป็นวิธีการที่เน้นการศึกษาค้นคว้า และสืบเสาะหาความรู้ในเรื่องที่สนใจร่วมกัน โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดสิ่งที่จะเรียน และร่วมกันวางแผนจัดกระบวนการเรียน
                9. สืบเสาะ/ค้นหา/มาร่วมกลุ่ม (Co – op  Co – op) เป็นวิธีการที่เน้นการศึกษาค้นคว้า สืบเสาะหาความรู้ โดยมีผู้เรียนควบคุมกันเองในการเลือกหน่วยการเรียนหน่วยใหญ่ และผู้เรียนต้องแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อย่อย ๆ กันเองในกลุ่ม
ข้อเสนอแนะ การนำการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมาใช้ควรดูให้เหมาะสมไม่ใช่ทำทุกชั่วโมง แล้วก็คิดว่าเป็นการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง





                      สรุปโดย  นางสาวนิตญา  วิมุล  นักศึกษาปริญญาโท  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี